ปัจจัยระบบงานด้านสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อความประทับใจ ของบุคลากร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ปัจจัยระบบงานด้านสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อความประทับใจ ของบุคลากร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

เผยแพร่เมื่อ 29 พฤศจิกายน 2564 คำค้น: สารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ประทับใจ

น.ส.ประภัสสร ขาวงาม เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป, คณะวิทยาการจัดการ


วัตถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อศึกษาปัจจัยระบบงานด้านสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อความประทับใจของบุคลากร และจัดกลุ่มปัจจัย และ ทดสอบอิทธิพลของปัจจัยระบบงานด้านสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อความประทับใจของบุคลากร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

รายละเอียด

 ปัจจัยระบบงานด้านสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อความประทับใจของบุคลากร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย (1) เพื่อศึกษาปัจจัยระบบงานด้านสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อความประทับใจของบุคลากร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (2) เพื่อจัดกลุ่มปัจจัยระบบงานด้านสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อความประทับใจของบุคลากรคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และ (3) เพื่อทดสอบอิทธิพลของปัจจัยระบบงานด้านสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อความประทับใจของบุคลากร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับบุคลากร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 97 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ปัจจัย และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 44 ปี สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท และมีสถานภาพเป็นข้าราชการ /พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ ด้านระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยระบบงานด้านสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อความประทับใจของบุคลากรคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พบว่า ปัจจัยที่ 1 ด้านประสิทธิภาพของระบบ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความประทับใจมากในข้อ 4 ระบบช่วยให้ประหยัดทรัพยากร (เวลา และวัสดุอุปกรณ์สำนักงาน) ปัจจัยที่ 2 ด้านขั้นตอนกระบวนการ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความประทับใจมากในข้อ 7 ระบบมีเมนูการออก (Logout) ที่ง่ายและไม่ซับซ้อน ปัจจัยที่ 3 ด้านการออกแบบส่วนแสดงผล ผู้ตอบแบบสอบถามมีความประทับใจในข้อ 5 รูปแบบการใช้งานระบบมีความง่ายในการเข้าถึงข้อมูล และปัจจัยที่ 4 ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความประทับใจมากในข้อที่ 1 กระบวนการในการให้บริการเหมาะสม ผลการจัดกลุ่มปัจจัยระบบงานด้านสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า มี 5 ปัจจัย ประกอบด้วย (1) การออกแบบส่วนแสดงผล (2) ด้านขั้นตอนกระบวนการ (3) ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ (4) ด้านความคุ้มค่าของระบบ และ(5) ด้านการใช้งานง่ายของระบบ และผลการการทดสอบอิทธิพลของปัจจัยระบบงานด้านสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อความประทับใจของบุคลากร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พบว่า ด้านการออกแบบส่วนแสดงผล ด้านขั้นตอนกระบวนการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และ ด้านการใช้งานง่ายของระบบ ซึ่งสามารถร่วมกันพยากรณ์ความประทับใจ คิดเป็นร้อยละ 61.9


© 2018 พัฒนาโดย นายบัณฑิต นันทะเทศ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ สังกัดสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่